Friday, May 25, 2007

โรค และการรักษา

โรค ปลาหมอสี (Disease) มีอยู่ 2-3 ชนิดด้วยกันคือ

โรคจุดขาว พบในช่วงหน้าหนาว หรือช่วงที่ฝนตกหนักๆ และมีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง อาการก็
คือซึมไม่กินอาหารและจะมีคล้ายๆฝึ่นสีขาวๆเกาะ ซึ่งสาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เกิดในน้ำและ
ยารักษาโรคนี้ก็ใช้ฟาราโพกรีน รักษาซึ่งจะหาซื้อได้ตามร้านขายปลาทั่วไปใน

ยาตัวนี้ภายใน 24 ชม. ปลาจะมีอาการดีขึ้นและช่วง 48 ชม. ปลาก็จัหายเป็นปกติ การใช้ยาตัวนี้นั้น
เมื่อใช้ยาควรจะต้องปิดไฟตู้ทุกครั้งเพราะยาตัวนี้จะเสื่อมฤทธิ์เมื่อถูกแสง


โรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งสาเหตุมาจากปลากัดกันจนเป็นแผลโดยที่เจ้าของไม่ทันสังเกตุเห็นก็จะ
ทำให้เกิดเชื้อราที่มีอยู่ในน้ำนั้นอยู่แล้ว ยาที่ใช้ก็พวกยาเขียว เพราะสามารถกำจัดพวกเชื้อราทั้ง
หลายได้

โรคที่เกิดจากกระเพาะลำไส้อักเสบ เพราะกินอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรีย อาหารที่ไม่สดจึงทำให้
ระบบการย่อย ผิดพลาดจนเกิดอาหารตกค้าง ซึ่งโรคนี้ถ้าเป็นมากก็จะรักษาไม่ได้นอกจากนี้
โรคอื่นๆก็ไม่ค่อยมี เนื่องจากปลาหมอสีเป็นปลาที่มีโรคน้อยมาก

1. โรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก
โดยเฉพาะจากเชื้อโปรโตซัว เช่น เชื้อ Ichth-popht hirius multifilis ที่ทำให้เกิดโรคจุดขาว
เชื้อ
Ocdinium ทำให้เกิดอาการมีเมือกตามตัวและเหงือก เชื้อ Trichodina หรือโรคที่เกิดจาก
เห็บระฆัง ซึ่งทำให้ปลามีอาการแสดงความรำคาญโดยการถูตัวกับตู้ปลาหรือซอกหิน จะมีเม็ดกลม
แบนเกาะติดอยู่ทั่วไป และบริเวณที่เห็บเกาะจะแดงช้ำโรคเห็บหนอนสมอโรคเมือกตามตัวและ
เหงือกอักเสบนอกจากนี้ยังเกิดจากพยาธิชนิดอื่นๆ เช่น โรคที่เกิดจากปลิงใส(Dactylogyrus
และ Cyrodaclrus) ทำให้ปลาหายใจลำบากต้องหายใจถี่สังเกตุบริเวณกระพุ้งแก้มเปิด
โรคจุดขาว โดยตามลำตัว และครีบของปลาจะมีจุดขาวเกาะอยู่ เกิดจากอุณหภูมิของน้ำเย็น

ในการตรวจรัักษาปลาควรนำปลาไปให้สัตว์แพทย์ตรวจดูก่อนเพื่อวินิจฉัยโรค ส่วนปลาที่ซื้อ
มาใหม่ ควรทำการกำจักพยาธิภายนอก โดยการใช้เกลือแกง 1 เปอร์เซ็น แช่นาน 12-24
ชัวโมง,ฟอร์มาลีนต่อความเข้มข้น 25 พีพีเอ็ม (25 c.c. ต่อน้ำ 100ลิตร) แช่นาน 24 ชม. หรือใช้เมททีลีน บลูในอัตรา 0.4-0.8 ซี.ซี. ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ไว้ 24 ชม. หรือแช่ น้ำที่มี
เกลือแกง เข้มข้น 1% แช่นาน 12-24 ชม. ในกรณีที่เกิดโรคจุดขาวซึ่งมักเกิดในฤดูหนาว
ฉะนั้นควรเพิ่มอุณหภูมิโดยใช้
Heater โดยใช้เพิ่มอุณหภูมิชั่วโมงละ 1 องศาเซลเซียส และ
ให้คงที่ที่ 30 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 10 วันจะสามารถรักษาโรคพยาธิดังกล่าวได้ ส่วนการ
ป้องกันก่อนที่จะนำปลาใหม่เข้า่ตู้ ควรนำปลากักโรคก่อน โดยใช้ยาข้างต้นแช่รวมกับอาหารสด
ที่จะนำมาให้ปลากิน


2. โรคที่เกิดจากเชื้อรา
เชื้อราที่พบได้บ่อย คือ Sapnolegnia ซึ่งจะพบเป็นขุยตามบริเวณขอบแผลหรือตามตัวรวมทั้งครีบ
เชื้อรานี้ส่วนใหญ่ เกิดมาจากการหมักหมมของเสียในตู้หรือบ่อ การเปลี่ยนถ่ายน้ำประจำจึงเป็นสิ่งที่
จำเป็นอย่างยิ่ง ในการจะฆ่าเชื้อโรคให้ใช้มาลาไคท์กรีนอัตราความเข้มข้น 0.1 มิลลิลิตร/ลิตร
แช่นาน 24 ชม. ก็จะช่วยลดปัญหาลงได้ ส่วนการป้องกันต้องดูแลสภาพในตู้ไม่ให้สกปรกหรือ
เกิดความหมักหมมของของเสีย และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ

3. โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
เชื้อชนิดนี้เป็นเชื้อสำคัญของการเกิดโรคและ " ทำให้ปลาตาย" คือ เชื้อแอร์โรโมแนส ไฮโดรฟิกล่า
บางครั้งอาจพบเชื้อ ไมโครแบคทีเรีย ทำให้เกิดโรคคล้ายวัณโรคในปลา เชื้อจะเพิ่มขึ้นๆอยู่กับ

- อุณหภูมิ (อุณหภูมิสูงเชื้อเติบโตดีกว่าอุณหภูมิต่ำ)
- ความเป็นกรดด่างของน้ำ (pH มากกว่า 7 เชื้อเติบโตได้ดีกว่าค่า pH ต่ำ)


โดยทั่วไปแล้วปลาหมอสีจะติดเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย เมื่อปลาอยู่ในสภาพเครียด เช่น

- คุณภาพน้ำไม่เหมาะสม
- ปริมาณปลาในตู้มากเกินไป


การรักษาควรทำอย่างรวดเร็วเมื่อเห็นปลาแสดงอาการผิดปรกติ โดยการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อ
ผสมอาหารให้ปลากิน การใช้ยาปฏิชีวนะที่ดีควรใช้ครั้งเดียวแล้วเลิก เมื่อเห็นปลามีอาการดีขึ้นแล้ว
เพราะ ถ้าใช้ต่อ อาจจะเกิดอาการดื้อยาได้ การรักษาโดยใช้ยาฟารากรีนผสมในน้ำแล้วปิดไฟตู้
(เพราะยามีปฏิกิริยากับแสงสว่าง และยาอาจจะเสื่อมสภาพได้ ถ้าหากถูกแสง) ทิ้งไว้ประมาณ
24-48 ชม. หรือนำปลาไปพบสัตว์แพทย์ตรวจก่อนการใช้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากยาปฏิชีวนะ
มีหลายชนิดและป้องกันการดื้อยา การให้ยาปฏิชีวนะทำได้โดยผสมกับอาหารให้ปลากินหรือใส่
ลงไปในน้ำ



No comments:

ปลาหมอสี Redtexas

ปลาหมอสี Redtexas