Friday, May 25, 2007

การเลี้ยง ปลาหมอสี

การเลี้ยงดู
ปลาหมอสี เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย มีความ
อดทนและกินอาหารง่าย ซึ่งเป็นอาหารจำพวก ไร
ทะเล ไรน้ำนางฟ้า หนอนแดง กุ้งฝอย ปลาขนาด
เล็ก ไส้เดือน หรืออาหารสำเร็จรูป หากต้องให้ปลา
มีสีสันเด่นชัดก็อาจให้อาหารประเภทเร่งสี โดยแนะ
นำว่า ไรน้ำนางฟ้าไทย ที่มีสารเบต้าแคโรทีน
สามารถเร่งสีปลาหมอสีได้ดีที่สุดในจำนวนอาหาร
ปลาทั้งหมด

ปลาหมอสี (Red Texas) เป็นปลาที่นิสัยรักหวงถิ่นที่อยู่ และก้าวร้าวจะไล่กัดปลาตัวอื่นๆทันทีที่เข้ามาใกล้ในบริเวณ
อาณาจักรของตัวเองที่ทำไว้ ดังนั้นการเลี้ยง
ปลาหมอสี (Red Texas) ีหลายพันธุ์รวมกันในตู้ต้องคำนึงถึงขนาดของ ปลาหมอสี (Red Texas)
ด้วย ควรจะมีขนาดใกล้เคียงกัน ตู้ควรมีขนาดใหญ่ และมีก้อนหินจัดวางไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลา
ตระกูลอื่น เช่น ปลาทอง ปลาเทวดา (ปลาในตระกูลปอมปาดัวร์) ฯลฯ

การย้อมสี หมายถึง การใช้ฮอร์โมนเพศไปเร่งสีปลานั่นเอง โดยส่วนใหญ่ที่ใช้คือฮาโลคริสติก ซึ่งก็คือ
ยาฮอร์โมนเพศชายนั่นเอง โดยมีขายตามร้านขายยาทั่วไป การใช้ก็นำมาคลุกกับอาหารปลาให้ปลา่กิน
และนี่ก็เป็นวิธี การเร่งสีปลาให้มันเกิดขึ้นเร็วเกินกว่าวัยสมควรจะเป็น ซึ่งการย้อมสีนี้แบ่งได้อีกหลาย
แบบ ถ้าจะย้อมสีแดงก็ใช้โปรตีนเรด โปรตีนพิ้งค์ นำมาคลุกกับอาหารในอัตราส่วนที่พอเหมาะให้ปลากิน
และปลาก็จะเปล่งสีสันออกมาพอสมควรเพราะสารโปรตีนพวกนี้จะไม่มีอันตรายและพิษภัยใดๆ แต่ถ้า
เป็นพวกฮอร์โมนเพศ ถ้าให้ปลากินตั้งแต่ยังเล็กและเป็นเวลานานๆ จะทำให้ปลาเหล่านี้เปลี่ยนเป็น
เพศผู้เพราะฮอร์โมนตัวนี้จะทำหน้าที่เปลี่ยนรังไข่ ทำให้รังไข่ฝ่อและจะทำให้ครีปของปลาตัวเมีย
ยาวเหมือนตัวผู้ ดังนั้นการเร่งสีปลาที่ปลอดภัยที่สุดควรเลี้ยงด้วย ไรน้ำนางฟ้า ซึ่งเป็นอาหารตาม
ธรรมชาติจึงจะดีที่สุดครับ

การเลี้ยงปลาหมอสี (Red Texas)
ถ้าเป็นลักษณะของรูปฟาร์มก็ควรจะมีพื้น ที่มีเงินลงทุน แต่ถ้าจะเพาะเลี้ยงตาม
บ้าน สำหรับผู้เพาะเลี้ยงตามบ้าน หรือผู้เพาะเลี้ยงมือใหม่นั้นสมควรที่จะมีตู้ปลาขนาด 24 นิ้ว หรือ
36 นิ้ว และควรเริ่มเพาะจากพันธุ์ที่เพาะง่ายๆก่อน คือ พวกตระกูลอมไข่ หาปลาตัวเมียที่ไม่ค่อยแพงนัก
ประมาณ 7 ตัวและหาปลาตัวผู้ 1-2 ตัว ซึ่งวิธีนี้ปล่อยตัวเมียลงในตู้ประมาณ 5-7 ตัวโดยใช้ตัว
ผู้ประมาณ
1 ตัวและปล่อยเอาไว้เช่นนี้ ถ้าตัวเมียพร้อมและไข่เมื่อไหร่หรือได้ไข่ไปแล้วนั้นจะสังเกตุ
ดูได้ว่าปลาจะหลบมุมซ่อนอยู่ตัวเดียว บริเวณใต้คางจะอูมย้อยลงมา และนั่นก็แสดงว่าได้ไข่แล้วแต่
อม เอาไว้ หลังจากนั้นทิ้งไว้เช่นนั้น 24 ชม. จึงช้อนเอาตัวเมียตัวนั้นออกมาเลี้ยงในตู้ใหม่เพียงตัว
เดียว และปล่อยเอาไว้ 14 วัน มันจะคายไข่ออกมาเองจากปาก นี่เป็นพิธีเพาะแบบง่ายๆ

อีกวิธีหนึ่งเป็นวิธีแบบสมัยใหม่ โดยเป็นระบบที่ะัฒนาแล้วเป็นวิธีใช้ปากเทียมเข้ามาช่วยโดยจะ
มีวิธีแกะไข่ออกจากปากแ
ม่ปลาแล้วปล่อยไว้อีก 24 ชม. เช่นกันจึงนำมาเป่าในปากเทียมซึ่งวิธี
นี้จะทำให้พ่อแม่ปลาสมบูรณ์เต็มที่และพร้อมที่จะไข่ในครั้งต่อๆไป
และด้วยการบังคับเอาไข่ออก
จากปากนี้ถ้าผู้ที่ไม่มีความชำนาญแล้วจะทำไม่ได้เพราะจะบังคับให้ปลาอ้าปากโดยใช้วิธีขยับที่
โคนเหงืิอก ถ้าผู้ที่ไม่มีความรู้ในการทำจะทำให้ไข่ปลาเสียหาย เพราะปลาหมอสีจะมีฟันซี่เล็กๆ
และละเอียด ถ้าพ่นไข่ออกจากปากโดยรีบร้อนจะทำให้ไข่ปลาเสียหมด และเมื่อนำไข่ที่อยู่ใน
สภาพที่สมบูรณ์พร้อม มาฟักในปากเทียมแล้วพอครบ 15 วันก็สามารถเลี้ยงด้วย ไรน้ำนางฟ้า
หรืออาหารสำเร็จรูปปั้นเป็นก้อนก็ได้ และเมื่อผ่านไป 60 วันก็จะได้ปลาในขนาดไซซ์ 1 นิ้ว
โดยประมาณ

สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้เป็นพันธุ์ที่ดีได้นั้นจะต้องมาจากตัวเมียถึง 70% เพราะตัวเมียจะถ่าย
ทอดพันธุ์กรรมเป็นส่วนมาก แต่ตัวผู้จะถ่ายทอดแค่สีเท่านั้น เพราะฉะนั้นตัวผู้จึงไม่จำเป็นต้องสี
สวยหรืิอสมบูรณ์แค่ไหน ซึ่งจะสำคัญอยู่ที่สายพันธุ์ของตัวเมียมากกว่า ซึ่งจะต้องคัดสายพันธุ์ที่
ดีและจะต้องนิ่ง โดยที่ปลาจะถ่ายทอดยีนส์ที่ดี แต่ถ้าเป็นพวกปอมปาดัวร์ต้องยอมรับว่าตัวผู้นั้น
สำคัญและมีผลมาก


ขอขอบคุณข้อมูลจาก samud.com

No comments:

ปลาหมอสี Redtexas

ปลาหมอสี Redtexas