Friday, May 25, 2007

ข้อมูล ปลาหมอสี Red Texas




ปลาหมอสี ( RED TEXAS )
แหล่งกำเนิด (Origin) ปลาหมอสี เป็นปลาน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ ทะเลสาบ หนองบึง คูคลองต่างๆ โดยมีแหล่งกำเนิดจาก 2 กลุ่มใหญ่ๆ ในโลก คือ

กลุ่ม New world ปลาหมอสี Red Texas ที่พบในส่วนของโลกใหม่ได้แก่ แถบอเมริกากลาง-ใต้
เช่น แท๊กซักใต้ลงมาจนถึงอาร์เจนตินาของอเมริกาใต้,คอสตาริกา,นิการากัว,บราซิล,ลุ่มน้ำแม่อเมซอน,
เกาะมาดากาสการ์,เกาะศรีลังกา,ชายฝั่ง
ทะเลตอนใต้ของอินเดีย ฯลฯ

กลุ่ม Old world ปลาหมอสีที่พบในส่วนของโลกเก่า ได้แก่ แถบแอฟริกาใต้,ในทะเลสาบมาลาวี(Lake Malawi)
ทะเลสาบแทนกานยิกา(Lake Tanganyika)ทะเลสาบวิตอเรีย(Lake Victoria) แถบแทนซาเนีย ฯลฯ

ปลาหมอสี (Red Texas) เป็นปลาน้ำจืดจัดอยู่ในตระกูล CICHIDS มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนทวีปแอฟริกาอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ มีรูปร่างลักษณะที่โดดเด่น ก็คืิอสีสันและลวดลายหลากสีสด
ใสสวยงามมากแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ซึ่งมีมากมายหลายสายพันธุ์แต่สามารถแบ่งได้ตามลักษณะและ
ตามแหล่งกำเนิดของปลาหมอสีได้ เช่น ปลาหมอสีที่มีถิ่นกำเนิดจากทะเลสาบมาลาวี ทะเลสาบวิกตอเรีย และทะเลสาบแทงกานยิกา

นอกจากนั้น ปลาหมอสี red texasจากทะัเลสาบมาลาวียังสามารถแบ่งได้อีก 2 ประเภท คือ "เอ็มบูน่า"
ได้แก่ ปลาหมอสี ที่อาศัยอยู่ตามซอกหิน และ "นอนเอ็มบูน่า" คือปลาหมอที่อาศัยอยู่ตามพื้นทราย ส่วนปลาหมอสีจากทะเลสาบแทงแกนยิกาก็แบ่งได้เป็น 2 ประเภทเช่นกัน คือ
ปลาหมอที่อมไข่ไว้ในปากจนเป็นตัว และปลาที่วางไข่บนก้อนหินหรือวัสดุอื่นๆ แล้วฟักเป็นตัว

ปลาหมอสี (Red Texas)
เป็นปลาที่มีอุปนิสัยค่อนข้างดุร้ายและมักทำร้ายปลาอื่นๆ ที่เข้ามาในบริเวณที่อยู่ของมันเสมอ ปลาหมอสี (Red Texas) เป็นที่กินทั้งพืชและสัตว์ ตัวอ่อนของแมลงน้ำ และสัตว์น้ำขนาดเล็กอื่นๆ ปลาหมอสี (Red Texas) ี เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดแตกต่างกันไปตามชนิดของสายพันธุ์ ปลาหมอสีที่มี
อายุ 3 เดือนขึ้นไปก็สามารถผสมพันธุ์ได้แล้ว

ปัจจุบันผู้คนในบ้านเราหันมานิยมเลี้ยง ปลาหมอสี (Red Texas) ไว้ดูเล่นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เหตุเพราะ
สีสันที่ดึงดูดใจนั่นเอง สายพันธุ์ของ ปลาหมอสี ที่นิยมและเป็นที่ต้องการของตลาด ได้แก่ มาลาวี
เหลือง,รีวูเลตัส,มาลาวี 5 สี,มาลาวีน้ำเงิน,มาลาวีแดง,ซีบร้าเรด,ซีบร้าบลู,มาลาวีน้ำเงิน
คอแดง และฟรอนโตซ่า ฯลฯ

การนำ ปลาหมอสี red texas มาเพาะขยายพันธุ์จึงเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สอดคล้องกับความต้องการของ
ตลาดนักนิยมปลาตู้และสามารถสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก samud.com

การเพาะพันธ์ ปลาหมอสี Red Texas

การเพาะพันธุ์

เราควรคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์เสียก่อน ปลาหมอสRed Texas ตัวเมียหากจะดูตามลักษณะของ
อวัยวะเพศ นั้นค่อนข้างยาก แต่ถ้าดูด้วยตาเปล่าจะสังเกตุเห็นว่าปลาหมอสีบางพันธุ์ตัวผู้จะ
มีขนาดใหญ่ และบางพันธุ์ตัวผู้จะมีสีสด ส่วนตัวเมียจะมีสีซีดกว่าพ่อแม่พันธุ์ที่ดีต้องเป็นปลา
ที่สมบูรณ์ ว่ายน้ำว่างไว ปราดเปรียว ที่สำคัญจะต้องเป็นปลาที่ไม่ผ่านการเร่งสีหรือย้อมส
มีอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป

สถานที่ที่ใช้เพาะพันธุ์ปลาหมอสีควรใชู้้กระจกขนาด 36 นิ้ว เพราะสามารถมองเห็นการ
เปลี่ยนแปลงของแม่ปลาไดด้ง่าย ทาสีตู้ทั้ง 3 ด้าู้นเพื่อป้องกันปลาตื่นตกใจ เมื่อเตรียม
พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ และสถานที่เรียบรุ้์อย จึงป่อยพ่อแม่พันธุ์ลงไปในอัตราส่วนพ่อพันธุ์ 1 ตัว
แต่แมพันธุ์ 5 ตัว ซึ่งตู้ขนาด 36 นิ้ว
สามารถปล่อยพ่อพันธุํุ์ได้ 3 ตัวและแม่พันธุ์ได้ถึง
15 ตัว โดยตัวผู้จะไล่จับคู่กับตัวเมียเอง

การผสมพันธุ์นั้นเมื่อตัวเมียเริ่มวางไข่ตัวผู้ก็จะปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่ และเนื่องจากปลาหมอสี
ส่วนใหญ่เป็นปลาที่อมไข่ เมื่อตัวผู้ปลอยน้ำเชื้อเสร็จปลาตัวเมียก็จะอมไข่ไว้และทำเช่นนี้เรื่อยๆ
จนไข่หมด ซึ่งปลาหมอสีจะอมไข่ได้ครั้งละประมาณ 30-40 ฟอง จากนั้นตัวผู้จะไปผสมพันธุ์
กับตัวอื่นต่อไปมี ปลาหมอสี Red Texas บางชนิดที่วางไข่ กับพื้นโดยไม่อมไข่ไว้เหมือนกัน แต่พบได้น้อยมาก
ไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วแม่ปลาจะอมไว้ในปาก ซึ่งเราจะสังเกตุว่าใต้คางของแม่ปลาจะอูม
ออกมาชัดเจน เหงือกจะอ้าออกมาเพื่อให้น้ำไหลผ่านในช่องปากตลอดเวลา เมื่อครบ 15 วัน
ลูกปลาจะเริ่มฟักเป็นตัวระยะนี้เราสามารถนำแม่ปลามาเปิดปากเพื่อนำลูกปลาออกมาแล้วนำไป
อนุบาลต่อไป การเปิดปากแม่ปลาควรทำด้วยความรวดเร็วและระมัดระวังมิเช่นนั้นแม่ปลาอาจ
จะเกิดบาดเจ็บได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก samud.com

โรค และการรักษา

โรค ปลาหมอสี (Disease) มีอยู่ 2-3 ชนิดด้วยกันคือ

โรคจุดขาว พบในช่วงหน้าหนาว หรือช่วงที่ฝนตกหนักๆ และมีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง อาการก็
คือซึมไม่กินอาหารและจะมีคล้ายๆฝึ่นสีขาวๆเกาะ ซึ่งสาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เกิดในน้ำและ
ยารักษาโรคนี้ก็ใช้ฟาราโพกรีน รักษาซึ่งจะหาซื้อได้ตามร้านขายปลาทั่วไปใน

ยาตัวนี้ภายใน 24 ชม. ปลาจะมีอาการดีขึ้นและช่วง 48 ชม. ปลาก็จัหายเป็นปกติ การใช้ยาตัวนี้นั้น
เมื่อใช้ยาควรจะต้องปิดไฟตู้ทุกครั้งเพราะยาตัวนี้จะเสื่อมฤทธิ์เมื่อถูกแสง


โรคที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งสาเหตุมาจากปลากัดกันจนเป็นแผลโดยที่เจ้าของไม่ทันสังเกตุเห็นก็จะ
ทำให้เกิดเชื้อราที่มีอยู่ในน้ำนั้นอยู่แล้ว ยาที่ใช้ก็พวกยาเขียว เพราะสามารถกำจัดพวกเชื้อราทั้ง
หลายได้

โรคที่เกิดจากกระเพาะลำไส้อักเสบ เพราะกินอาหารที่มีเชื้อแบคทีเรีย อาหารที่ไม่สดจึงทำให้
ระบบการย่อย ผิดพลาดจนเกิดอาหารตกค้าง ซึ่งโรคนี้ถ้าเป็นมากก็จะรักษาไม่ได้นอกจากนี้
โรคอื่นๆก็ไม่ค่อยมี เนื่องจากปลาหมอสีเป็นปลาที่มีโรคน้อยมาก

1. โรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก
โดยเฉพาะจากเชื้อโปรโตซัว เช่น เชื้อ Ichth-popht hirius multifilis ที่ทำให้เกิดโรคจุดขาว
เชื้อ
Ocdinium ทำให้เกิดอาการมีเมือกตามตัวและเหงือก เชื้อ Trichodina หรือโรคที่เกิดจาก
เห็บระฆัง ซึ่งทำให้ปลามีอาการแสดงความรำคาญโดยการถูตัวกับตู้ปลาหรือซอกหิน จะมีเม็ดกลม
แบนเกาะติดอยู่ทั่วไป และบริเวณที่เห็บเกาะจะแดงช้ำโรคเห็บหนอนสมอโรคเมือกตามตัวและ
เหงือกอักเสบนอกจากนี้ยังเกิดจากพยาธิชนิดอื่นๆ เช่น โรคที่เกิดจากปลิงใส(Dactylogyrus
และ Cyrodaclrus) ทำให้ปลาหายใจลำบากต้องหายใจถี่สังเกตุบริเวณกระพุ้งแก้มเปิด
โรคจุดขาว โดยตามลำตัว และครีบของปลาจะมีจุดขาวเกาะอยู่ เกิดจากอุณหภูมิของน้ำเย็น

ในการตรวจรัักษาปลาควรนำปลาไปให้สัตว์แพทย์ตรวจดูก่อนเพื่อวินิจฉัยโรค ส่วนปลาที่ซื้อ
มาใหม่ ควรทำการกำจักพยาธิภายนอก โดยการใช้เกลือแกง 1 เปอร์เซ็น แช่นาน 12-24
ชัวโมง,ฟอร์มาลีนต่อความเข้มข้น 25 พีพีเอ็ม (25 c.c. ต่อน้ำ 100ลิตร) แช่นาน 24 ชม. หรือใช้เมททีลีน บลูในอัตรา 0.4-0.8 ซี.ซี. ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ไว้ 24 ชม. หรือแช่ น้ำที่มี
เกลือแกง เข้มข้น 1% แช่นาน 12-24 ชม. ในกรณีที่เกิดโรคจุดขาวซึ่งมักเกิดในฤดูหนาว
ฉะนั้นควรเพิ่มอุณหภูมิโดยใช้
Heater โดยใช้เพิ่มอุณหภูมิชั่วโมงละ 1 องศาเซลเซียส และ
ให้คงที่ที่ 30 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 10 วันจะสามารถรักษาโรคพยาธิดังกล่าวได้ ส่วนการ
ป้องกันก่อนที่จะนำปลาใหม่เข้า่ตู้ ควรนำปลากักโรคก่อน โดยใช้ยาข้างต้นแช่รวมกับอาหารสด
ที่จะนำมาให้ปลากิน


2. โรคที่เกิดจากเชื้อรา
เชื้อราที่พบได้บ่อย คือ Sapnolegnia ซึ่งจะพบเป็นขุยตามบริเวณขอบแผลหรือตามตัวรวมทั้งครีบ
เชื้อรานี้ส่วนใหญ่ เกิดมาจากการหมักหมมของเสียในตู้หรือบ่อ การเปลี่ยนถ่ายน้ำประจำจึงเป็นสิ่งที่
จำเป็นอย่างยิ่ง ในการจะฆ่าเชื้อโรคให้ใช้มาลาไคท์กรีนอัตราความเข้มข้น 0.1 มิลลิลิตร/ลิตร
แช่นาน 24 ชม. ก็จะช่วยลดปัญหาลงได้ ส่วนการป้องกันต้องดูแลสภาพในตู้ไม่ให้สกปรกหรือ
เกิดความหมักหมมของของเสีย และควรเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ

3. โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
เชื้อชนิดนี้เป็นเชื้อสำคัญของการเกิดโรคและ " ทำให้ปลาตาย" คือ เชื้อแอร์โรโมแนส ไฮโดรฟิกล่า
บางครั้งอาจพบเชื้อ ไมโครแบคทีเรีย ทำให้เกิดโรคคล้ายวัณโรคในปลา เชื้อจะเพิ่มขึ้นๆอยู่กับ

- อุณหภูมิ (อุณหภูมิสูงเชื้อเติบโตดีกว่าอุณหภูมิต่ำ)
- ความเป็นกรดด่างของน้ำ (pH มากกว่า 7 เชื้อเติบโตได้ดีกว่าค่า pH ต่ำ)


โดยทั่วไปแล้วปลาหมอสีจะติดเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย เมื่อปลาอยู่ในสภาพเครียด เช่น

- คุณภาพน้ำไม่เหมาะสม
- ปริมาณปลาในตู้มากเกินไป


การรักษาควรทำอย่างรวดเร็วเมื่อเห็นปลาแสดงอาการผิดปรกติ โดยการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อ
ผสมอาหารให้ปลากิน การใช้ยาปฏิชีวนะที่ดีควรใช้ครั้งเดียวแล้วเลิก เมื่อเห็นปลามีอาการดีขึ้นแล้ว
เพราะ ถ้าใช้ต่อ อาจจะเกิดอาการดื้อยาได้ การรักษาโดยใช้ยาฟารากรีนผสมในน้ำแล้วปิดไฟตู้
(เพราะยามีปฏิกิริยากับแสงสว่าง และยาอาจจะเสื่อมสภาพได้ ถ้าหากถูกแสง) ทิ้งไว้ประมาณ
24-48 ชม. หรือนำปลาไปพบสัตว์แพทย์ตรวจก่อนการใช้ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากยาปฏิชีวนะ
มีหลายชนิดและป้องกันการดื้อยา การให้ยาปฏิชีวนะทำได้โดยผสมกับอาหารให้ปลากินหรือใส่
ลงไปในน้ำ



การเลี้ยง ปลาหมอสี

การเลี้ยงดู
ปลาหมอสี เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย มีความ
อดทนและกินอาหารง่าย ซึ่งเป็นอาหารจำพวก ไร
ทะเล ไรน้ำนางฟ้า หนอนแดง กุ้งฝอย ปลาขนาด
เล็ก ไส้เดือน หรืออาหารสำเร็จรูป หากต้องให้ปลา
มีสีสันเด่นชัดก็อาจให้อาหารประเภทเร่งสี โดยแนะ
นำว่า ไรน้ำนางฟ้าไทย ที่มีสารเบต้าแคโรทีน
สามารถเร่งสีปลาหมอสีได้ดีที่สุดในจำนวนอาหาร
ปลาทั้งหมด

ปลาหมอสี (Red Texas) เป็นปลาที่นิสัยรักหวงถิ่นที่อยู่ และก้าวร้าวจะไล่กัดปลาตัวอื่นๆทันทีที่เข้ามาใกล้ในบริเวณ
อาณาจักรของตัวเองที่ทำไว้ ดังนั้นการเลี้ยง
ปลาหมอสี (Red Texas) ีหลายพันธุ์รวมกันในตู้ต้องคำนึงถึงขนาดของ ปลาหมอสี (Red Texas)
ด้วย ควรจะมีขนาดใกล้เคียงกัน ตู้ควรมีขนาดใหญ่ และมีก้อนหินจัดวางไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลา
ตระกูลอื่น เช่น ปลาทอง ปลาเทวดา (ปลาในตระกูลปอมปาดัวร์) ฯลฯ

การย้อมสี หมายถึง การใช้ฮอร์โมนเพศไปเร่งสีปลานั่นเอง โดยส่วนใหญ่ที่ใช้คือฮาโลคริสติก ซึ่งก็คือ
ยาฮอร์โมนเพศชายนั่นเอง โดยมีขายตามร้านขายยาทั่วไป การใช้ก็นำมาคลุกกับอาหารปลาให้ปลา่กิน
และนี่ก็เป็นวิธี การเร่งสีปลาให้มันเกิดขึ้นเร็วเกินกว่าวัยสมควรจะเป็น ซึ่งการย้อมสีนี้แบ่งได้อีกหลาย
แบบ ถ้าจะย้อมสีแดงก็ใช้โปรตีนเรด โปรตีนพิ้งค์ นำมาคลุกกับอาหารในอัตราส่วนที่พอเหมาะให้ปลากิน
และปลาก็จะเปล่งสีสันออกมาพอสมควรเพราะสารโปรตีนพวกนี้จะไม่มีอันตรายและพิษภัยใดๆ แต่ถ้า
เป็นพวกฮอร์โมนเพศ ถ้าให้ปลากินตั้งแต่ยังเล็กและเป็นเวลานานๆ จะทำให้ปลาเหล่านี้เปลี่ยนเป็น
เพศผู้เพราะฮอร์โมนตัวนี้จะทำหน้าที่เปลี่ยนรังไข่ ทำให้รังไข่ฝ่อและจะทำให้ครีปของปลาตัวเมีย
ยาวเหมือนตัวผู้ ดังนั้นการเร่งสีปลาที่ปลอดภัยที่สุดควรเลี้ยงด้วย ไรน้ำนางฟ้า ซึ่งเป็นอาหารตาม
ธรรมชาติจึงจะดีที่สุดครับ

การเลี้ยงปลาหมอสี (Red Texas)
ถ้าเป็นลักษณะของรูปฟาร์มก็ควรจะมีพื้น ที่มีเงินลงทุน แต่ถ้าจะเพาะเลี้ยงตาม
บ้าน สำหรับผู้เพาะเลี้ยงตามบ้าน หรือผู้เพาะเลี้ยงมือใหม่นั้นสมควรที่จะมีตู้ปลาขนาด 24 นิ้ว หรือ
36 นิ้ว และควรเริ่มเพาะจากพันธุ์ที่เพาะง่ายๆก่อน คือ พวกตระกูลอมไข่ หาปลาตัวเมียที่ไม่ค่อยแพงนัก
ประมาณ 7 ตัวและหาปลาตัวผู้ 1-2 ตัว ซึ่งวิธีนี้ปล่อยตัวเมียลงในตู้ประมาณ 5-7 ตัวโดยใช้ตัว
ผู้ประมาณ
1 ตัวและปล่อยเอาไว้เช่นนี้ ถ้าตัวเมียพร้อมและไข่เมื่อไหร่หรือได้ไข่ไปแล้วนั้นจะสังเกตุ
ดูได้ว่าปลาจะหลบมุมซ่อนอยู่ตัวเดียว บริเวณใต้คางจะอูมย้อยลงมา และนั่นก็แสดงว่าได้ไข่แล้วแต่
อม เอาไว้ หลังจากนั้นทิ้งไว้เช่นนั้น 24 ชม. จึงช้อนเอาตัวเมียตัวนั้นออกมาเลี้ยงในตู้ใหม่เพียงตัว
เดียว และปล่อยเอาไว้ 14 วัน มันจะคายไข่ออกมาเองจากปาก นี่เป็นพิธีเพาะแบบง่ายๆ

อีกวิธีหนึ่งเป็นวิธีแบบสมัยใหม่ โดยเป็นระบบที่ะัฒนาแล้วเป็นวิธีใช้ปากเทียมเข้ามาช่วยโดยจะ
มีวิธีแกะไข่ออกจากปากแ
ม่ปลาแล้วปล่อยไว้อีก 24 ชม. เช่นกันจึงนำมาเป่าในปากเทียมซึ่งวิธี
นี้จะทำให้พ่อแม่ปลาสมบูรณ์เต็มที่และพร้อมที่จะไข่ในครั้งต่อๆไป
และด้วยการบังคับเอาไข่ออก
จากปากนี้ถ้าผู้ที่ไม่มีความชำนาญแล้วจะทำไม่ได้เพราะจะบังคับให้ปลาอ้าปากโดยใช้วิธีขยับที่
โคนเหงืิอก ถ้าผู้ที่ไม่มีความรู้ในการทำจะทำให้ไข่ปลาเสียหาย เพราะปลาหมอสีจะมีฟันซี่เล็กๆ
และละเอียด ถ้าพ่นไข่ออกจากปากโดยรีบร้อนจะทำให้ไข่ปลาเสียหมด และเมื่อนำไข่ที่อยู่ใน
สภาพที่สมบูรณ์พร้อม มาฟักในปากเทียมแล้วพอครบ 15 วันก็สามารถเลี้ยงด้วย ไรน้ำนางฟ้า
หรืออาหารสำเร็จรูปปั้นเป็นก้อนก็ได้ และเมื่อผ่านไป 60 วันก็จะได้ปลาในขนาดไซซ์ 1 นิ้ว
โดยประมาณ

สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้เป็นพันธุ์ที่ดีได้นั้นจะต้องมาจากตัวเมียถึง 70% เพราะตัวเมียจะถ่าย
ทอดพันธุ์กรรมเป็นส่วนมาก แต่ตัวผู้จะถ่ายทอดแค่สีเท่านั้น เพราะฉะนั้นตัวผู้จึงไม่จำเป็นต้องสี
สวยหรืิอสมบูรณ์แค่ไหน ซึ่งจะสำคัญอยู่ที่สายพันธุ์ของตัวเมียมากกว่า ซึ่งจะต้องคัดสายพันธุ์ที่
ดีและจะต้องนิ่ง โดยที่ปลาจะถ่ายทอดยีนส์ที่ดี แต่ถ้าเป็นพวกปอมปาดัวร์ต้องยอมรับว่าตัวผู้นั้น
สำคัญและมีผลมาก


ขอขอบคุณข้อมูลจาก samud.com

สายพันธ์ ปลาหมอสี Red Texas



ปลาหมอสี (Red Texas) ข้ามสายพันธุ์
ปลาหมอสี (Red Texas)ที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้น หลายคนคงสงสัยว่ามันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
มันเป็นพันธ์ ปลาหมอสี อยู่แต่เดิมแล้ว หรือว่ามันเกิดมาจากการผสมข้าม
สายพันธ์ คำตอบก็คือ มันเป็นการผสมข้ามสายพันธ์ของปลาหมอ โดบสามารถแบ่งได้เป็น

เท็กซัสแดง (Red Texas)
เป็นปลาที่ผสมข้ามสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นปลาที่มีลักษณะเด่น
คือ ลำตัวมีสีแดงสลับกับสีขาวเป็นลสดลายสวยงาม ซึ่งมี
เกิดจากการผสมข้่ามสายพันธุ์กันระหว่าง เท๊กซัสเขียว
(Herichthys carpinte) ผสมข้ามสายพันธุ์กับปลามีสีพื้น
แดงอเมริกา หรือปลาพื้นแดงที่ข้ามสายพันธุ์มาแล้ว โดยทั่วไป
มักจะนิยมผสมข้ามสายพันธุ์ดังนี้

1.เท็กซักเขียวตัวผู้กับเรดเดวิลตัวเมีย ซึ่งก็จะได้เท็กซัสแดงที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ เมื่อโตเต็มที่
จะมีโหนกใหญ่มาก มีลำตัวหนา มีลวดลายแตกต่างกันไปในแต่ละตัว

2.
เท็กซักเขียวตัวเมียกับเรดเดวัลตัวผู้ ซึ่งจะได้เท็กซัสแดงที่มีขนาดและรายละเอียดอื่นๆใกลเคียง
กับข้อ 1


3.
เท็กซักเขียวตัวผู้กับนกแก้วตัวเมีย การเพาะโดยใช้นกแก้วจะไม่สามารถสลับเพศได้เพราะ
นกแก้วเป็นปลาที่ข้ามมาแล้ว 1 ชั้นระหว่าง
นกแก้วกับซินสไปรุ่ม ลูกเท็กซัสแดงที่ได้จากเท็กซัส
เขียวและนกแก้วจะมีสีส้มสดถึงแดง ลำตัวกลม หัวไม่โหนกมากนัก

4. เท็กซัสเขียวตัวผู้กับคิงคอง
จะเพาะในลักษณะเดียวกับนกแก้ว ไม่สามารถสลับเพศได้ เท็ก-
ซัสแดงที่ได้จะมีลักษณะใกล้เคียงกับข้อ 3 แต่สีจะแดงฉ่ำกว่า

5. เท็กซัสเขียวตัวผู้กับเท็กซัสแดงตัวเมีย
วิธีผสมนี้จะใช้ได้เฉพาะกับเท็กซัสแดงตัวเมียเท่านั้น
เพราะเท็กซัสแดงตัวผู้ซึ่งเป็นปลาที่ข้ามสายพันธุ์มาแล้วจะเป็นหมัน โดยส่วนใหญ่ไม่สามารถ
นำมาเพาะพันธุ์ได้ ส่วนเท็กซัสแดงตัวเมียใช้ได้ทั้งเท็กซัสแดงที่มากจาก เรดเดวิล นกแก้ว
หรือคิงคองก็ได้ซึ่งเท็กซัสที่ได้จะมีลักษณะแตกต่างกัน ตามลักษณะแม่พันธุ์

สาเหตุที่เท็กซัสแดงได้รับความนิยมและมีราคาค่อนข้างสูง
เนื่องมาจากเท็กซัสแดงเป็นปลาที่ต้องอาศัยระยะเวลา
ในการลอกผิวนาน โดยจะลอกผิวด้า่นนอกเป็นสีแดงหรือ
สีส้ม แต่ระยะเวลาในการลอก และความสวยงามจะแตก
ต่างกันไปในแต่ละตัว จึงควรเลือกซื้อเท็กซัสแดงที่มีลวด
ลายตามลำตัวสวยงาม เริ่มมีการลอกหรือมีแววว่าจะลอก
โดยสอบถามถึงพ่อพันธุ์ และแม่พันธุ์จากผู้ขายเพื่อ
ประกอบการพิจารณาในการเลือกซื้อ


ฟลาวเวอร์ ฮอร์น(Flower Horn)
เป็นปลาผสมข้ามสายพันธุ์
ที่มีต้นกำเนิดจากประเทศมาเลเซีย เริ่มเข้ามาในประเทศไทย
ประมาณปลายปี 2543
และได้รับความนิยมสูงสุดในปี 2544
Flower Horn จัดเป็นปลาที่มีความสวยงามมากมีลักษณะเด่น
ต่างๆที่ทำให้ผู้เลี้ยงปลาหมอสีบ้านเราเกิดความนิยมทั้งในรูป
ทรงและสีสัน โดยลักษณะนิสัยของ Flower Horn ค่อนข้างดุ รักและหวงถิ่นที่อยู่อาศัย กินอาหารได้บ่อยครั้งเจริญเติบโตได้ค่อนข้างเร็ว

Flower Horn นั้นมีต้นกำเนิดมาจากสองทวีปคือ ปลาหมอสีพันธุ์ใหญ่จากอเมริกากลาง และอเมริกาใต้
โดยไม่ได้รับการเปิดเผยจากผู้เพาะพันธุ์ว่าใช้ปลาอะไรบ้าง เท่าที่สามารถสันนิษฐานได้จากลักษณะ
ของปลา ได้แก

1. ไตรมาคู จะได้ลักษณะของลวดลาย(Marking) และความเป็นมุกตามลำตัว
2. เรดเดวิล ให้ลักษณะเด่นด้านขนาดความใหญ่ของลำตัว และความโหนกของหัว
3. ซินสไปรุ่ม ให้ลักษณะเด่นทางด้านความใหญ่ของลำตัว และความโหนกของหัวเช่นเดียวกัน

นอกจากสามสายพันธุ์ที่ได้กล่าวมาแล้ว อาจจะมีสายพันธุ์อื่นๆเข้ามาผสมด้วย เพราะ Flower Horn
ชนิดต่างๆมีมากมายเกิน 20 ชนิด ซึ่งแตละชนิดก็มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ผู้ซื้อควรเลือกซื้อ
โดยพิจารณาว่าชอบลักษณะใด เช่น ชอบลวดลายดอกที่ลำตัว,หาง,กระโดง ก็อาจซื้อ Flower Street
เป็นต้น ทั้งนี้หลักการในการเลือกซื้อ Flower Horn ควรพิจารณาดังนี้ึครับ


1. ลวดลาย หรือ Marking บนตัวปลาส่วนใหญ่แล้วจะพิจารณา
Marking ที่ขาวตั้งแต่หัวจนถึงหางปลา จึงจะถือว่าเป็นปลาเกรด
A หรือเป็นปลาคุณภาพ แต่ในบางครั้ง ก็ควรพิจารณาถึงองค์
ประกอบอื่นๆด้วย เช่น สีสัน,รูปทรงของตัวปลา เช่น Perfect
Harmony มี Marking เพียงแค่กึ่งกลางลำตัวแต่มีรูปร่าง
และสีสันที่สวยงามก็นับได้ว่าเป็นปลาเกรด A และมีราคาสูง
ถึงตัวละ ประัมาณ 5 แสนบาท

2. ความเป็นมุกที่ลำตัวและรอบๆมาร์คกิ้ง Flower Horn เป็นปลาที่มีความแวววาวตามลำตัว หรือที่
เรียกว่า "มุก" โดยจะมีมุกรอบๆมาร์คกิ้งทุกจุดและตามลำตัว ถ้าจับปลามาดูใกล้ๆจะเห็นความระยิบระยับ
อย่างชัดเจน ผิวปลาไม่เป็นสีดำคล้ำ สีผิวโทนสว่างตลอดลำตัว

3. สีสัน Flower HOrn เป็นปลาที่มีสีสันเฉพาะตัวตามลักษณะ แต่ละชนิดของ Flower Horn
โดยทั่วไปแล้วจะมีสีส้ม แดง หรือบางครั้งออกสีทอง

ในการเลือกซื้อ Flower Horn ผู้ซื้อควรสอบถามข้อมูลต่างๆ จากผู้ขายว่าเป็นปลามาจากแหล่งใด
รวมทั้งข้อมูลในการเลี้ยง การให้อาหาร โดยควรจะศึกษาข้อมูลให้เพียงพอก่อนตัวสินใจซื้อเพราะ
Flower Horn ขนาดเล็กจะดูค่อนข้างยากว่าเป็นปลาสายพันธุ์แท้หรือไม่ เพราะจะมีลักษณะคล้าย
ไตรมาคูมาก ในขณะที่ราคาต่างกันสิบเท่าตัว จึงควรพิจารณาก่อนเลือกซื้ออย่างละเอียดถี่ถ้วน

โดยข้อมูลในเว็บนี้เราจะดู ในส่วนของ 2 สายพันธ์นี้นะครับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก samud.com




ปลาหมอสี Redtexas

ปลาหมอสี Redtexas